โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ Python

โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ Python

วันที่ 21 เมษายน 2564

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสื่อการเรียนการสอนที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพเนื้อหาชัดเจน และดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ง่าย ในปัจจุบันนี้การผลิตสื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ไม่ยากเนื่องจากโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถใช้ได้ง่ายโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง หรือทางด้านกราฟฟิกดีไซน์มากนัก แต่กระนั้นทักษะการเขียนโปรแกรมขึ้นพื้นฐานยังมีความสำคัญในการผลิตสื่อการเรียนการสอนอยู่ดี

โปรแกรม Python เป็นโปรแกรมประเภท Open-source ที่สามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร อีกทั้งโปรแกรม Python ยังเป็นโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับจากนักเขียนโปรแกรมทั่วโลกว่าง่ายต่อการเรียนรู้ โปรแกรม Python มี Library เสริมที่ช่วยเพิ่มขอบเขตการใช้งานของโปรแกรมให้กว้างยิ่งขึ้นรวมถึงการสร้าง animation เคลื่อนไหวอย่างง่าย ๆ เช่น Matplotlib หรือ Tkinter ซึ่งสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวได้โดยการเขียนคำสั่งไม่กี่บรรทัดจึงเหมาะสมที่จะนำมาเป็นตัวอย่างสำหรับ ครู อาจารย์ ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรืออุดมศึกษาที่จะได้เรียนรู้เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนอย่างง่าย ๆ ในห้องเรียน

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม Python โดยสามารถสร้างคำสั่งง่าย ๆ จาก Python ได้
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนชุดคำสั่งในการสร้างรูปภาพ ทางเรขาคณิตอย่างง่ายโดยใช้ Matplotlib
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้าง animation เคลื่อนไหวอย่างง่ายได้โดยใช้ Matplotlib
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้าง animation เคลื่อนไหวอย่างง่ายได้โดยใช้ Tkinter

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้หัวข้อดังต่อไปนี้

  • ทบทวนพื้นฐานการใช้โปรแกรม Python
  • การสร้างรูปเรขาคณิตอย่างง่ายโดยใช้ Matplotlib
  • การสร้าง animation เคลื่อนไหวอย่างง่ายได้โดยใช้ Matplotlib
  • การสร้าง animation เคลื่อนไหวอย่างง่ายได้โดยใช้ Tkinter

กำหนดการ

วิทยากร

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรภาพ ฉันทวัฒน์

สถานที่

  • ณ ห้องอะคาดิเมีย วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร

หนังสือเชิญ

สมัครเข้าร่วมโครงการ

อัตราค่าลงทะเบียน

ผู้เข้าร่วม ณ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน

  • 1600 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป
  • 1200 บาท สำหรับ คณาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ (สังกัดภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ SIP+)
  • 800 บาท สำหรับ นิสิต/นักศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
  • 600 บาท สำหรับนิสิตของวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน (และนิสิต นักศึกษา สังกัดภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ SIP+)

การชำระค่าลงทะเบียน

  • ภายในวันที่ 19 เมษายน 2564 : สมัครเข้าร่วมโครงการและชำระค่าลงทะเบียน
  • การชำระค่าลงทะเบียนให้โอนเงินเข้าบัญชี 346-1-00001-2
  • ธนาคาร: กรุงศรีอยุธยา
  • สาขา: มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชื่อบัญชี: มหาวิทยาลัยนเรศวร

หลังจากชำระค่าลงทะเบียนแล้ว ให้ส่งเอกสารการชำระค่าลงทะเบียนที่ แจ้งการชำระเงินค่าลงทะเบียน

  • 19 เมษายน 2564 : ประกาศรายชื่อผู้สมัครและยืนยันการเข้าร่วม
  • 21 เมษายน 2564 : ลงทะเบียนและเข้าร่วมโครงการ (หน้างาน)

รายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ

  • นางสาวปราณี แก้วมา(รอชำระ)
  • ผศ.ดร.ชีวะ ทัศนา(รอชำระ)
  • นาย สุขเกษม สุขงาม(รอชำระ)
  • นายภูริต แก้วเจริญเนตร
  • นายเกษม อำนวยโรจนจินดา
  • นายนิธิรัต ศรีสารัตน์
  • นายอัศวนนทปกรณ์ ธเนศวีรภัทร