โครงการฟังก์ชันกรีนในกลศาสตร์ควอนตัม (Green’s Function in Quantum Mechanics)

โครงการฟังก์ชันกรีนในกลศาสตร์ควอนตัม (Green’s Function in Quantum Mechanics)

วันเสาร์ที่ 5 - วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564, ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)

ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมเป็นพื้นฐานและหัวใจสำคัญสำหรับเทคโนโลยีในปัจจุบัน การจะพัฒนาประเทศชาติอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในทางเทคโนโลยีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กล่าวคือ นิสิต นักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางด้านโรงงาน อุตสาหากรรม ต้องมีจำนวนมากพอที่เข้าใจทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้นำความเข้าใจนี้ไปเสริมสร้างองค์ความรู้ ประยุกต์ใช้ จนกระทั่งนำมาพัฒนาเทคโนโลยีได้ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงต้องการผู้ที่เข้าใจทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมอยู่เป็นจำนวนมาก โครงการนี้ต้องการเป็นส่วนช่วยในการลดช่องว่างนี้

ฟังก์ชันกรีนเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์อย่างมากในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สำคัญในทางฟิสิกส์ และเสริมความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยฟังก์ชันกรีนเน้นแก้ปัญหาว่าระบบที่สนใจมีการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกอย่างไร ตัวอย่างการนำฟังก์ชันกรีนมาประยุกต์ใช้ในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น ยกตัวอย่างเช่น ศึกษาว่าหากระบบทางควอนตัมถูกรบกวน แล้วปริมาณต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดระบบจะมีค่าเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งความเข้าใจสิ่งนี้เป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญมากในการพัฒนาเทคโนโลยี ในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ทางควอนตัมเพื่อให้มีการตอบสนองตามที่ต้องการ

โครงการนี้ต้องการนำเสนอหลักการประยุกต์ใช้งานฟังก์ชันกรีนสำหรับกลศาสตร์ควอนตัม โดยคาดหวังว่าผู้ร่วมโครงการจะสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปใช้ในการทำความเข้าใจในการศึกษาด้วยตนเอง การต่อยอด และการเผยแพร่ต่อ ซึ่งประโยชน์ในอนาคตอันใกล้คือการที่วิทยากรและผู้ร่วมโครงการ จะได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาการเรียนการสอน หรือเผยแพร่ในลักษณะอื่น และนำไปใช้ในงานวิจัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านกลศาสตร์ควอนตัมและด้านฟังก์ชันกรีนแก่ผู้ร่วมโครงการ
  • เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้เข้าใจหลักการของการนำฟังก์ชันกรีนมาประยุกต์ใช้กับกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการนำไปพัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยต่อไป

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้หัวข้อดังต่อไปนี้

  • ทบทวนนิยามฟังก์ชันของกรีนและการใช้กับกลศาสตร์คลาสสิก
  • ระบบอนุภาคเดี่ยวเชิงควอนตัม
  • ฟังก์ชันของกรีนสำหรับระบบอนุภาคเดี่ยวเชิงควอนตัม
  • ระบบหลายอนุภาคเชิงควอนตัม
  • การอธิบายระบบหลายอนุภาคเชิงควอนตัมโดยใช้สนามควอนตัม
  • สถานะผสม
  • การตอบสนองของระบบเชิงควอนตัมต่อการรบกวนในอันดับเชิงเส้น
  • การรบกวนระบบเชิงควอนตัมที่อุณหภูมิคงตัว

หมายเหตุ

  • หลังเสร็จสิ้นโครงการฯ ท่านจะได้รับใบประกาศแสดงการเข้าร่วมโครงการฯ

กำหนดการ

วิทยากร

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิเชฐ วณิชชาพงศ์เจริญ
  • Ph.D. in Mathematical Sciences, Durham (St. Cuthbert’s Society- Dunelm), UK
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาฟิสิกส์ทฤษฎี
  • หัวหน้ากลุ่มวิจัยทฤษฎีสตริง (ภายใต้ QFTHEP)
  • ผู้จัดอนุกรมสัมมนาท่าโพธิ์
  • นักเรียนทุน พสวท.
  • ผู้เขียนหนังสือทฤษฎีสนามควอนตัม

สถานที่

  • ถ่ายทอดสด ณ ห้องอะคาดิเมีย วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ผู้เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์ ( Zoom )
  • มีบันทึกวิดีโอเพื่อให้ทบทวนย้อนหลังสำหรับผู้เข้ารับการอบรม

หนังสือเชิญ

สมัครเข้าร่วมโครงการ

อัตราค่าลงทะเบียน

ผู้เข้าร่วมผ่านระบบ Zoom

  • ค่าลงทะเบียน 1,400 บาท : ครู อาจารย์ และบุคคลทั่วไป
  • ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท : คณาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ สังกัดภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ SIP+
  • ค่าลงทะเบียน 600 บาท : นิสิต/นักศึกษา และนักเรียนทั่วไป
  • ค่าลงทะเบียน 300 บาท : นิสิตของวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน, นิสิต/นักศึกษา สังกัดภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ SIP+

การชำระค่าลงทะเบียน

  • ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 : สมัครเข้าร่วมโครงการและชำระค่าลงทะเบียน
  • การชำระค่าลงทะเบียนให้โอนเงินเข้าบัญชี 346-1-00001-2
  • ธนาคาร: กรุงศรีอยุธยา
  • สาขา: มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชื่อบัญชี: มหาวิทยาลัยนเรศวร

หลังจากชำระค่าลงทะเบียนแล้ว ให้ส่งเอกสารการชำระค่าลงทะเบียนที่ แจ้งการชำระเงินค่าลงทะเบียน

  • 2 มิถุนายน 2564 : ประกาศรายชื่อผู้สมัครและยืนยันการเข้าร่วม
  • 5 มิถุนายน 2564 : ลงทะเบียนและเข้าร่วมโครงการ (หน้างาน)

ประกาศรายชื่อผู้สมัครและยืนยันการเข้าร่วม

  • อาจารย์ อาทิตย์ หู้เต็ม
  • นาย กวินข์ การสุทธิวิวัฒน์
  • นาย พศิน กิรติพงษ์วุฒิ
  • นาย ปพน รังสิมาเทวัญ
  • นาย รัชชานนท์ ศรีใส
  • อาจารย์ ฉลอง ทองประเสริฐ
  • นาย วิริทธิ์ เอกอนันต์กุล
  • นาย ฐิติภัทร์ จงรุ่งเรือง
  • นาย กษิดิศ ศรีมหาจริยะพงษ์
  • Mr. Sukkasam Sukngam
  • นาย สาโรจน์ มนัสมาสเจริญ
  • นาย ดุลยวัฒน์ บุญวุฒิ
  • นาย ธนดล คงคุ้ม
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เพชรอาภา บุญเสริม
  • นางสาว กุลภัทร แสนสุข
  • อาจารย์ นคร มธุรดาวงศ์
  • นาย วิวิธวินท์ เจริญงาม
  • นาย วีรวิชญ์ โฮริโนอุชิ
  • นาย พลธนาศักดิ์ ทิพย์ปัญญา
  • อาจารย์ นรากรณ์ แก้วขาว
  • นายเมธาชาญ อุปถัมภ์
  • นายสัมฤทธิ์ ศรีสุวรรณรัตน์