โครงการโครงสร้างเชิงทฤษฏีในวิชาฟิสิกส์ขั้นต้น

โครงการโครงสร้างเชิงทฤษฏีในวิชาฟิสิกส์ขั้นต้น

วันที่ 3-5 มิถุนายน  2559

การจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง ถูกต้อง แม่นยำ และที่สำคัญที่สุดก็คือต้องเห็นความสวยงามของฟิสิกส์ โดยต้องมีความเป็นปัจจุบันและสากล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้ที่ถูกต้องและเกิดความรู้สึก”ชื่นชม” กับ “ความงาม และ ความเป็นระเบียบ” ของศาสตร์อันลึกซึ้งแขนงนี้

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน “สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ” (IF) คือ สถาบันทางฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงและคุณภาพทางวิชาการในระดับนานาชาติ เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางฟิสิกส์ทฤษฏีเป็นจำนวนมากที่สุดของประเทศ IF ได้ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมระยะสั้น “โครงสร้างเชิงทฤษฎีในฟิสิกส์ขั้นต้น” ให้แก่ครู อาจารย์ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาและฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 นิสิตฟิสิกส์ระดับปริญญาตรี และนักวิชาการผู้สนใจทั่วไปจากหลายสถาบันรวม 2 รุ่นแล้ว โดยได้รับการตอบสนองด้วยดีจึงเห็นว่าองค์ความรู้ส่วนนี้มีความจำเป็นต่อครูและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ การจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในความงามของฟิสิกส์อันเป็นเอกภาพ ในปีนี้จึงได้มีกิจกรรมรุ่นที่ 3 ขึ้นเป็นปีที่ 3 ต่อเนื่องกัน

วัตถุประสงค์

  • เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ตามกระบวนทัศน์ที่เรียกว่า “โครงสร้างเชิงทฤษฎีของฟิสิกส์” (Theoretical Structure of Physics) ให้แก่ผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาและผู้สอนระดับปริญญาตรี นักศึกษา และนักวิชาการสาขาอื่นๆที่สนใจ
  • เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงลึก การตระหนักถึงความสำคัญ ความรัก และแรงบันดาลใจในการศึกษาฟิสิกส์อย่างจริงจัง
  • เพื่อนำเสนอ “แผนที่” ขององค์ความรู้ฟิสิกส์ โดยนำเสนอด้วยระดับของฟิสิกส์ขั้นต้น

หัวข้อการอบรม

  • ปรัชญาและความหมายของฟิสิกส์
  • อะไรเป็นเกณฑ์จำแนกองค์ความรู้ว่าเป็น กฎ ข้อบังคับ โพสตูเลท หรือทฤษฎี
  • โครงสร้างเชิงความคิดของวิชากลศาสตร์ขั้นต้น
  • โครงสร้างเชิงความคิดของวิชาอุณหพลศาสตร์ขั้นต้น
  • ปริภูมิซึ่งเป็นบ้านของทฤษฎีทางฟิสิกส์
  • ศักย์ สนาม และการไหล นิยามที่ชัดเจนของมันคืออะไร
  • การสั่นและคลื่น ฟังก์ชันคลื่นคืออะไร

เหมาะสำหรับ

  1. ผู้สอนฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา หรือ ผู้สอนฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1
  2. นักศึกษาฟิสิกส์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี
  3. นักวิชาการสาขาอื่นๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ นิเทศน์ศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆที่ต้องการรู้จักกับ แนวคิดเชิงปริภูมิ และทฤษฎีระบบ ในฟิสิกส์
  4. ผู้สนใจทั่วไปที่พอมีความรู้ฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา

วิทยากร :

  • รองศาสตราจารย์ บุรินทร์ กำจัดภัย

กำหนดการ

สถานที่

  • ถ่ายทอดสด ณ ห้องสถานีฟิสิกส์ศึกษา วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ผู้เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์ ( Zoom )
  • มีบันทึกวิดีโอเพื่อให้ทบทวนย้อนหลังสำหรับผู้เข้ารับการอบรม

อัตราค่าลงทะเบียน

  • ค่าลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมทั่วไป  2,800 บาท (ได้รับ หนังสือแสดงการเข้าร่วม เสื้อT-Shirt อาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการบรรยาย และมีงานเลี้ยงรับรอง)
  • ค่าลงทะเบียนสำหรับบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเรศวรและจากสถาบันภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการและเครือข่ายความร่วมมือฟิสิกส์อิสานใต้ (SIP) 1,800 บาทต่อบุคลากรหนึ่งท่านและ 1,200 บาท ต่อนิสิต/นักศึกษาหนึ่งท่าน
  • ค่าลงทะเบียนสำหรับบุคลากรและนิศิษย์ของ IF  500 บาท จะได้รับ หนังสือแสดงการเข้าร่วม  อาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการบรรยาย และมีงานเลี้ยงรับรอง (ไม่ได้รับเสื้อT-Shirt)

รายชื่อผู้เข้าร่วม

  1. อาจารย์ ไพโรจน์ ขุมขำ              : โรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
  2. อาจารย์ จำเนียร ชูช่วย               : โรงเรียนชากังราววิทยา อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
  3. คุณ พีระพงษ์ แย้มชุมพร            : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
  4. คุณชาญณรงค์ เฉื่อยอารมย์       : วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
  5. คุณชนแดน ด้วยคุ้มเกล้า            : วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
  6. อาจารย์วีระ มาผิว                        : โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
  7. คุณกุลชดาภา ตนะทิพย์              : วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา